การเตรียมการในด้านพิธีการงานแต่งงาน นั้น เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียวค่ะ เพื่อให้งานแต่งงานนั้นเป็นไปด้วยความราบรื่นและสร้างบรรยาศของความหวานชื่นให้กับคู่บ่าวสาว โดยเริ่มต้นจาก
พิธีกร
ควรจะมีพิธีกร 1-2 คน เท่านั้น พิธีกรมีหน้าที่ ลำดับพิธีการและขั้นตอน ซึ่งพิธีการในงานเลี้ยงฉลองแต่งงานนั้นไม่มีมาก การพูดควรพูดประมาณ 5- 6 ประโยค และโดยธรรมชาติแล้ว ถึงแม้พิธีกรจะตื่นเต้นแต่ก็มีสคริปต์ แต่คนที่ตื่นเต้นกว่าบนเวทีตอนนั้น คือ เจ้าบ่าวและเจ้าสาว ค่ะ ไม่รู้ว่าจะพูดอะไรก่อนหลังดี บางคู่ก็นิ่งอยู่นานกว่าจะพูดออก
ตำแหน่งของพิธีกรบนเวที ยืนอยู่ด้านข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ควรเดินเข้ามาอยู่กับบ่าวสาว เพื่อให้ความสำคัญกับบ่าวสาวจริงๆ ถ้าจะเดินเข้าใกล้บ่าวสาวบ้าง ก็ทำได้หลังจากที่บ่าวสาวกล่าวขอบคุณแขกเรียบร้อยแล้ว และอาจมีการพูดคุยสัมภาษณ์กันเล็กน้อยก่อนตัดเค้ก
ลำดับขั้นตอนพิธีการ
ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ในงานแต่งงานจะมีการฉายพรีเซ็นเทชั่นกันเกือบทุกงาน ควรใช้ไฟในการเริ่มฉาย คือ หรี่ไฟลงจนกระทั้วไฟมืดสนิท ทิ้งไว้สัก 5 วินาที จากนั้นจึงเริ่มฉายพรีเซ็นเทชั่น
พิธีกรไม่ควรขึ้นไปพูดกล่าวต้อนรับและเชิญชวนแขกชมพรีเซ็นเทชั่น เพราะ ไม่ว่าจะในงานเลี้ยงแบบไหนก็แล้วแต่ (ค็อกเทลหรือโต๊ะจีน) ตอนที่พิธีกรขึ้นไปกล่าวต้อนรับนั้น แขกมักไม่รู้ตัวและไม่สนใจมองไปที่เวที บางทีพิธีกรกล่าวคำว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” อยู่สัก 3 – 4 แขกยังไม่รู้ตัวเลยด้วยเสียงของแขกในงานดังกว่า
และควรให้คู่บ่าวสาวขึ้นเวทีก่อนคนอื่นๆ ดีกว่า และเมื่อมีการฉายพรีเซ็นเทชั่นในงานระหว่างที่บ่าวสาวค่อยๆ เดินมาอยู่ใกล้เวทีหน่อย เมื่อพรีเซ็นเทชั่นจบก็ฉายไฟฟอลโลว์ไปที่บ่าวสาว และให้เดินขึ้นเวทีโดยไม่ต้องเปิดเพลง เพราะมีเพลงในพรีเซ็นเทชั่นแล้วก็ควรจะทิ้งช่วงไว้สำหรับเพลงตัดเค้ก ซึ่งจะต้องเป็นเพลงที่เด่นที่สุด หรืออาจฟอลโลว์ไฟไปที่บ่าวสาวให้เดินขึ้นเวที โดยใช้เพลงหนึ่งเพลงสำหรับวอล์คอิน เมื่อบ่าวสาวเดินขึ้นเวทีและพิธีกรเดินตามขึ้นมาด้วยประโยคที่ว่า “ขอเสียงปรบมือต้อนรับให้กับคู่บ่าวสาวด้วยครับ/ค่ะ “
จุดที่จะยืนบนเวทีของคู่บ่าวสาวคือตรงกลาง ตรงนี้บ่าวสาวหลายคนจะเบลอหรืองง เพราะว่าตื่นเต้นแต่ พิธีกร ต้องช่วยดูให้เรียบร้อย จากนั้นพิธีกรก็เริ่มดำเนินพิธีการต่อดังนี้
- กล่าวต้อนรับแขกที่มาในงานเช่น
- กล่าวเชิญผู้ใหญ่ที่จะขึ้นมาอวยพรบ่าวสาวรวมถึงกล่าวขอบคุณเมื่อท่านอวยพรเสร็จแล้ว
- กล่าวเชิญคู่บ่าวสาวกล่าวขอบคุณแขก
- สัมภาษณ์ (ถ้ามี)
- กล่าวเชิญบ่าวสาวตัดเค้ก
ตัวอย่างประโยคอย่างเป็นทางการของแต่ละหัวข้อหรืออาจปรับใช้กันตามความเหมาะสมนะคะ
กล่าวต้อนรับแขก
“ขอต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมในงานเลี้ยงฉลองสมรสของคุณ........................... เจ้าบ่าวและเจ้าสาวในวันนี้” กล่าวเชิญผู้ใหญ่ “ขอกราบเรียนเชิญ .......................................บนเวทีเพื่อ (คล้องมาลัยถ้ามี) กล่าวอวยพรให้แก่คู่บ่าวสาวในวันนี้ ขอกราบเรียนเชิญครับ/ค่ะ” เมื่อผู้ใหญ่ท่านดังกล่าวเดินลงจากเวทีพิธีกรกล่าวขอบคุณ “ขอขอบคุณ............................................ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ/ค่ะ”
หากมีผู้ใหญ่ที่จะขึ้นมากล่าวอีกก็ทำซ้ำเหมือนเดิมค่ะ โดยขอแนะนำ ให้ผู้ใหญ่ที่จะขึ้นกล่าวบนเวทีที่แจ๋วที่สุดเลยคือ 1 -2 คนเท่านั้น อย่าให้มากกว่านี้
กล่าวเชิญบ่าวสาวขอบคุณแขก
“ จากนี้ไปขอเชิญเจ้าบ่าวและเจ้าสาวกล่าวขอบคุณแขกที่มาในงานครับ/ค่ะ”
เราจำเป็นต้องกล่าวขอบคุณผู้ใหญ่ที่ขึ้นมาอวยพรก่อน จากนั้นค่อยขอบคุณแขกอื่นๆรวมถึงขอบคุณใครก็ตามที่เราอยากขอบคุณ เช่น คุณพ่อคุณแม่อย่างที่ชอบทำ
แล้วจึงสัมภาษณ์บ่าวสาว ใครจะพูดก่อนหรือหลังก็ได้นะคะ สัมภาษณ์ ช่วงนี้หากพิธีกรจะขยับเข้ามาใกล้บ่าวสาวมากขึ้นก็ได้เพื่อความผ่อนคลาย แต่อย่าสัมภาษณ์นานเกินจนน่าเบื่อ
หลังจากนั้นตัดเค้ก ประโยคง่ายๆ เช่น
“บัดนี้ก็ได้เวลาที่ทุกท่านรอคอยแล้ว ขอเชิญบ่าวสาวทำพิธีตัดเค้กฉลองสมรสครับ/ค่ะ”
ช่วงนี้บ่าวสาวควรรอให้เพลงตัดเค้กที่เราเลือกใช้เริ่มขึ้นมาก่อนแล้วจึงเริ่มเดินนะคะ จากนี้พิธีกรก็ถอยตัวลงมาจากเวทีได้เลย ไม่ต้องมีประโยคร่ำลาใดๆครับ กระบวนการทั้งหมดจากนี้ขอให้บ่าวสาวทำทุกอย่างช้าลงจากปกติครึ่งจังหวะค่ะ
เมื่อตัดเค้กแล้วบ่าวสาวก็น่าจะกินเค้กชิ้นแรกบนเวทีเค้กนั้น ผลัดกันป้อนคนละคำก็น่ารักดีนะคะ หรือจะไม่ทำก็ได้
ขั้นตอนต่อไปคือการนำเค้กไปให้ผู้ใหญ่ที่ขึ้นเวทีมาพูดตามลำดับ แล้วจึงนำไปให้คุณพ่อคุณแม่ ฝ่ายใดก่อนก็ได้ ส่วนจะนำไปให้ญาติผู้ใหญ่ท่านใดในงานอีกบ้างก็ตามอัธยาศัยนะคะ
วันนี้ เตรียมตัวก่อนแต่งงานด้วยคอร์สเจ้าสาว รับแพคเกจสปาราคาพิเศษ ก่อน 31 มี.ค. 53 นี้
ติดต่อ คุณอาภาภัทร
มือถือ 08-4611-8815 อีเมล์ sales@baansingkham.com
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ห้องพักหรู Deluxe Jacuzzi บ้านสิงห์คำรีสอร์ท
ห้องพักบ้านสิงห์คำรีสอร์ท มีหลายห้องให้ท่านได้เลือกพักในบรรยากาศแบบต่างๆ วันนี้ลองมาดูบรรยากาศห้องพักหรู Deluxe Jacuzzi ในมุมต่างๆนะคะ

บรรยากาศในยามค่ำคืน ด้านหน้าห้องพัก ก่อนเข้าห้องพักลองนั่งพักเหนื่อยกับการเดินทางตลอดทั้งวันที่เก้าอี้โบราณ แบบล้านนา ประตูห้องพักทำด้วยไม้อายุกว่า 40 ปี พร้อมห้องสว่างสไวด้วยโคมไฟผ้า แบบล้านนาอีกเหมือนกัน

หลังจากพักเหนื่อยแล้ว เข้าชมในห้องพัก มีเตียงไม้โบราณ บรรยากาศล้านนา มีหน้าต่างแบบล้านนาโบราณแท้บานเลื่อน สถาปัตยกรรมที่ยังคงไว้ ให้ผู้พักได้ย้อนอดีตในแบบล้านนา
ในห้องพักมีห้องน้ำJacuzzi และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
ติดต่อ คุณอาภาภัทร

บรรยากาศในยามค่ำคืน ด้านหน้าห้องพัก ก่อนเข้าห้องพักลองนั่งพักเหนื่อยกับการเดินทางตลอดทั้งวันที่เก้าอี้โบราณ แบบล้านนา ประตูห้องพักทำด้วยไม้อายุกว่า 40 ปี พร้อมห้องสว่างสไวด้วยโคมไฟผ้า แบบล้านนาอีกเหมือนกัน
หลังจากพักเหนื่อยแล้ว เข้าชมในห้องพัก มีเตียงไม้โบราณ บรรยากาศล้านนา มีหน้าต่างแบบล้านนาโบราณแท้บานเลื่อน สถาปัตยกรรมที่ยังคงไว้ ให้ผู้พักได้ย้อนอดีตในแบบล้านนา
ห้องน้ำประดับประดาด้วยบรรยากาศธรรมชาติ มีอ่าง Jacuzzi ให้นอนแช่น้ำพักเหนื่อยจากการเดินทาง มีเตียงสปา ส่วนตั๊วส่วนตัว ให้ได้นวดผ่อนคลายทั้ง สครับตัว นวดน้ำมัน นวดโบราณ
ราคาห้องพักรวมค่าบริการและอาหารเช้า
ประเภทห้องพัก
- Standard Room พักเดี่ยวและพักคู่ ราคา 2000 บาท
- Superior Room พักเดี่ยวและพักคู่ ราคา 2500 บาท
- Deluxe Room พักเดี่ยวและพักคู่ ราคา 3000 บาท
- Singkham Suite พักเดี่ยวและพักคู่ ราคา 5000 บาท
บริการรถรับ ส่ง สนามบิน สนามบิน - โรงแรม ท่านละ 200 บาท
ด่วน จองห้องพัก วันนี้ถึง 30 ก.ย. 52 รับห้องพักราคาพิเศษ และ Gift Voucher คอร์สสปา 1 คอร์ส ฟรี
ติดต่อ คุณอาภาภัทร
มือถือ 08-4611-8815 อีเมล์ sales@baansingkham.com
ประเพณีแต่งงานแบบไทย
คนไทยถือว่าการแต่งงานต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายและการที่จะไปขอลูกสาวใครแต่งงานต้องให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงยินยอม จึงต้องมีการทาบทาม สู่ขอ และหมั้นหมายกันไว้ก่อนที่จะมีการแต่งงานเกิด
เฒ่าแก่ทาบทาม
ในสมัยก่อนผู้หญิงผู้ชายไม่มีโอกาสคบหากันอย่างอิสระอย่างสมัยนี้ เมื่อชายต้องการแต่งงานกับลูกสาวบ้านไหนจึงต้องแต่งผู้ใหญ่ไปทาบทาม หากฝ่ายหญิงมีท่าทีไม่ไม่รังเกียจจึจะจัดผู้ใหญ่ไปสู่ขออีกครั้ง
ในขั้นตอนนี้ฝ่ายหญิงอาจจะขอวันเดือนปีเกิดฝ่ายชายไปตรวจดู ถ้าไม่อยากสานสัมพันธ์กับฝ่ายขายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะได้มีข้ออ้างว่าดวงไม่สมพงษ์กัน
ฤกษ์ยาม
ฤกษ์ยามที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานนี้มีตั้งแต่ฤกษ์ยกขันหมาก สู่ขอ ฤกษ์หมั้น ฤกษ์รดน้ำ ส่งตัวและฤกษ์เรียงหมอนการหาฤกษ์จะดูทั้งวัน เดือน ปีที่สมพงษ์กับคู่แต่งงาน
คนไทยนิยมแต่งงานเดือนคู่ตามปฏิทินจันทรคติ ยกเว้นเดือนสิบสองเพราะถือว่าเป็นฤดูที่สัตว์มีคู่ วันสิบสองค่ำทั้งข้างขึ้นข้างแรมโบราณห้ามแต่งเพราะถือว่าเป็น “วันจม” วันอังคารและวันเสาร์ถือว่าเป็น “วันแรง” วันพุธก็เป็นวันสุนัขนามไม่ดี วันพฤหัสบดีไม่เหมาะอีกเพราะในตำนานฮินดูนั้นลูกสาวพระพฤหัสบดีแต่งงานไปแล้วมีชู้ วันที่เหมาะจะแต่งงานคือวันศุกร์ เพราะมีเสียงพ้องกับ “สุข”
และถ้าได้วันที่เป็นอธิบดีและวันธงชัยก็ยิ่งดี แต่วันที่ดีเลิศนั้นมีไม่กี่วันในหนึ่งปี คู่ที่ไม่อยากรอนานจึงถือเอา “ฤกษ์สะดวก” คือ ปลอดจากฤกษ์ไม่ดีทั้งหลายเป็นพอ

สินสอด – ทองหมั้น
เมื่อสองฝ่ายเห็นชอบกันว่ามีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายชายจะแต่งเฒ่าแก่สู่ขอไปเจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงถึงเรื่องสินสอดทองหมั้นและกำหนดวันแต่งงาน สมัยก่อนผู้ชายเป็นผู้ปลูกเรือนหอบนที่ของฝ่ายหญิงตามธรรมเนียม “แต่งเขยเข้าบ้าน” ก็จะมีการตกลงเรื่องนี้กันด้วย
ขันหมากหมั้น
ขันหมากหมั้น ตามธรรมเนียมไทยประกอบด้วยขันหมากและทองหมั้นซึ่งฝ่ายชายนำไปมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะแต่งงานกัน คนไทยสมัยก่อนชอบกินหมาก แขกไปใครมาก็ยกขันหมากอกมาต้อนรับ ขันหมากจึงมีความสำคัญในประเพณีแต่งงานไทย
ขันหมากหมั้นมักใช้ขันทอง เงิน นาก ถม ใส่หมากทั้งลูก ไม่เฉาะหรือเฉือน 8 ผล และพลู 4 เรียง จะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้แต่นิยมจัดให้เป็นเลขคู่ ก้นขันหมากใส่ถุงบรรจุข้าวเปลือก ถั่วเขียว ข้าวตอกและงาดำอย่างละ 1 ถุง เป็นเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวมีความเจริญงอกงาม บางบ้านอาจจะใส่แป้งข้าวหมากเอาเคล็ดว่าคู่แต่งงานจะทำการอะไรให้เฟื่องฟู พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “แต่งงาน” ว่าบางบ้านอาจจะใส่ดอกรักเด็ดจากช่อที่เป็นยอดลงไปด้วยเพราะมีชื่อเป็นมงคล
ของหมั้นตามประเพณีเดิมนิยมให้ทองรูปพรรณเพราะมีของมีค่าที่นำติดตัวไปไหน ๆ ได้ จึงเรียกกันติดปากว่า ทองหมั้นคู่กับสินสอด แม้ว่าความนิยมจะเปลี่ยนไปและเดี๋ยวนี้บางคู่ก็หมั้นกันด้วยแหวนเพชรวงเดียว ของหมั้นที่โบราณมักเรียกกันก็มีอาหาร ขนม ผลไม้ และน้ำตาลหมั้นเพื่อแจกจ่ายในหมู่ญาติเป็นประกาศให้รู้ว่าลูกสาวบ้านนี้มีผู้หมั้นหมายแล้ว
พิธีแต่งงาน
แก่นแท้ของพิธีแต่งงานไทย คือ การสู่ขอฝ่ายหญิงจากบิดามารดาและการรดน้ำอวยพรหรือผูกข้อมือแก่คู่บ่าวสาว ส่วนพิธีสงฆ์นั้นถือว่าเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว โดยถ้าไม่ตักบาตรเช้าก็มักนิมนต์พระมาสวดและถวายภัตตาหารเพล แล้วอาราธนาท่านปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์และทำมงคลคู่สำหรับพิธีรดน้ำด้วยพิธีเช้าเริ่มจากการตักบาตรร่วมกัน
สมัยก่อนทั้งสองฝ่ายจะนำข้าวและอาหารคาวหวานมารวมกัน แต่เพื่อความสะดวกฝ่ายหญิงจึงมีมักเป็นผู้เตรียมให้ จากนั้นฝ่ายหญิงเลี้ยงเพลพระ เมื่อใกล้เสร็จพิธี ฝ่ายหญิงจัดสำรับคาวหวานอย่างละสำรับเรียกว่า “ของเลื่อนเตือนขันหมาก” ไปยังบ้านเจ้าบ่าวเพื่อบอกให้รู้ว่าพิธีเช้าเสร็จสิ้น ให้ยกขันหมากมาได้
ขันหมากแต่ง
ประกอบด้วยขันหมากเอกและขันหมากเลวหรือขันหมากโท ขันผ้าไหว้สำหรับพ่อแม่ฝ่ายหญิงคู่หนึ่งและสำรับผ้าขาวสำหรับไหว้ผีปู่ย่าตายาย
ขันหมากเอกประกอบด้วยขันหมากบรรจุลูกหมาก พลูเรียงเหมือนขันหมากหมั้น โบราณให้รองก้นขันด้วยใบรักและใบสวาด แต่อย่างหลังนี้คงจะหาได้ยาก
ขันสินสอด บรรจุเงินสินสอดตามที่ตกลงกัน
ขันทุนสินหรือขันเงินทุนซึ่งทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวต่างก็เตรียมไว้จำนวนเท่ากันเพื่อให้คู่บ่าวสาวใช้เป็นเงินทุนตั้งตัว ขันทุนสินนี้มักใส่เงินปลีกลงมาด้วยเอาเคล็ดว่าให้เงินจำนวนนี้งอกงามต่อไปและใช้เสี่ยงทายในพิธีสู่ขอด้วย
ทั้งขันสินสอดและขันทุนสินให้รองก้นด้วยข้าวเปลือก ถั่ว งา และใบไม้ดอกที่มีชื่อเป็นมงคลต่าง ๆ เช่น ใบเงิน ใบทอง ใบแก้ว ใบรัก ใบสวาด ดอกพุทธชาด ดอกบานไม่รู้โรย
ในหมู่ขันหมากเอกยังมีเตียบ ซึ่งเป็นพาชนะบรรจุอาหารทรงคล้ายตะลุ่ม ปากผาย มีฝาครอบ จัดเป็นคู่ ๆ บรรจุอาหารคาวหวาน ที่นิยมกันก็มี ไก่ หมู่ ห่อหมก ขนมจีน สองอย่างแรกเป็นของที่ใช้เซ่นไหว้ตามธรรมเนียมสองอย่างหลังมีความหมายดี เนื่องจาก “หมก” หมายถึง “รวม” และขนมจีนนั้นมีเส้นยาวเป็นเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวรักกันนาน ๆ ของหวานที่นิยม มีฝอยทอง ขนมชั้นขนมกล้วย ขนมกง มะพร้าวอ่อนทั้งใบ กล้วย ส้มทั้งผล
สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือขันไหว้ผีใส่มะพร้าวอ่อน อ้อย และเหล้าทั้งขวด นอกจากนี้ยังมักจัดพานถัวงาสำหรับใช้ในพิธีสู่ขอขันหมากเลวหรือขันหมากโท (เลวหมายถึงสามัญ) จะจัดกี่คู่ก็ได้ บรรจุขนมต่าง ๆ เช่น ทองเอก ฝอยทอง ขนมจันอับของจีนหรือขนมเค้กแบบฝรั่ง แล้วแต่ความนิยม และผลไม้พื้นบ้าน เช่น กล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน
สมัยก่อนเจ้าบ่าวจะส่งขันหมากเลวมาล่วงหน้าก่อนวันแต่ง 1 วัน (วันสุกดิบ) เพื่อที่ฝ่ายเจ้าสาวจะได้นำอาหารนั้นมาเลี้ยงแขกในวันแต่งงานด้วย
พิธีรดน้ำ
เดิมทีเป็นพิธีซัดน้ำ โดยนิมนต์พระสงฆ์เป็นผู้ประพรม หรือ “ซัด” น้ำมนต์บนตัวแก่คู่บ่าวสาว ซึ่งมักว่ากันถึงเปียกปอนเลยทีเดียว ต่อมาจึงแปลงเป็นการให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายและแขกเหรื่อร่วมรดน้ำอวยพรแก่คู่บ่าวสาวแทน เครื่องใช้ในพิธีซึ่งฝ่ายเจ้าสาวต้องเตรียมได้แก่
จากนั้นจึงเชิญแขกร่วมรดน้ำตามลำดับอาวุโส เมื่อเสร็จพิธี ประธานจะถอดมงคลพร้อมกล่าวอวยพรแก่คู่บ่าวสาว จากนั้นทั้งคู่จึงลุกจากที่พร้อม ๆ กัน แต่บางคนอาจถือเคล็ดว่าใครปลุกก่อนจะมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
พิธีปูที่นอน
นิยมเชิญคู่สามีภรรยาที่รักกัน มีลูกหลานสืบสกุลและเป็นคนดีมีศีลธรรมมาเป็นประธานเมื่อได้ฤกษ์ประธานจะไหว้พระสวดมนต์แล้วขึ้นนอนคู่กันบนที่นอนพอเป็นพิธี โดยอาจจะมีคำกล่าวเอาเคล็ดต่างๆ ร่วมด้วย เป็นต้นว่า “ที่นอนนี้ใครนอนเห็นจะเป็นสุขสบาย เจริญรุ่งเรือง ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง” ฯลฯ
เครื่องใช้ในพิธีปูที่นอนมีฟักเขียว 1 ผล หินบดยา 1 ลูก แมวสีขาว หม้อใหม่ใส่น้ำฝน และพานใส่ถั่วงาที่เหลือจากเคล้าทุนสิน ทั้งหมดนี้วางไว้ข้างที่นอนเอาเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวในเย็นเหมือนฟัก หนักแน่นเหมือนหิน อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเหมือนแมว ให้อดกลั้น ถนอมน้ำใจกันอย่างโบราณว่า “น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก” และทำการใดให้งอกงามเหมือนถั่งงา
สมัยนี้ถ้าหาแมวไม่ได้หรือเกรงว่ามันจะไม่ยอมร่วมมืออาจจะใช้ตุ๊กตาแมวแทนก็ได้ และบางบ้านอาจจะนำกลีบดอกรัก กุหลาบ บานไม่รู้โรยมาโรยบนที่นอนอด้วยเพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวรักกันมาก ๆ
พิธีส่งตัว
พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะพาเจ้าสาวมาส่งทีห้องหอ ให้โอวาทและอวยพรแก่ทั้งคู่ บางบ้านอาจจะให้ทำพิธีเกี่ยวก้อยตามแบบโบราณ โดยให้เจ้าสาวกราบเจ้าบ่าวแล้วเข้าไปอยู่หลังม่านในห้องหอ เจ้าบ่าวไหว้เฒ่าแก่ในพิธีแล้วจึงยื่นมือเข้าไปเกี่ยวก้อยกับเจ้าสาวในม่าน จากนั้นเฒ่าแก่จะให้เจ้าสาวกราบหมอนเจ้าบ่าวแล้วนอนลงทางฟากของตนก่อนเป็นเคล็ดให้เจ้าบ่าวเกรงใจเจ้าสาว เฒ่าแก่อาจจะสั่งสอนทั้งสองฝ่ายถึงหน้าที่สามีภรรยาก่อนจะลากลับ
วันนี้ เตรียมตัวก่อนแต่งงานด้วยคอร์สเจ้าสาว รับแพคเกจสปาราคาพิเศษ ก่อน 31 มี.ค. 53 นี้
ติดต่อ คุณอาภาภัทร มือถือ 08-4611-8815 อีเมล์ sales@baansingkham.com
เฒ่าแก่ทาบทาม
ในสมัยก่อนผู้หญิงผู้ชายไม่มีโอกาสคบหากันอย่างอิสระอย่างสมัยนี้ เมื่อชายต้องการแต่งงานกับลูกสาวบ้านไหนจึงต้องแต่งผู้ใหญ่ไปทาบทาม หากฝ่ายหญิงมีท่าทีไม่ไม่รังเกียจจึจะจัดผู้ใหญ่ไปสู่ขออีกครั้ง
ในขั้นตอนนี้ฝ่ายหญิงอาจจะขอวันเดือนปีเกิดฝ่ายชายไปตรวจดู ถ้าไม่อยากสานสัมพันธ์กับฝ่ายขายด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะได้มีข้ออ้างว่าดวงไม่สมพงษ์กัน
ฤกษ์ยาม
ฤกษ์ยามที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานนี้มีตั้งแต่ฤกษ์ยกขันหมาก สู่ขอ ฤกษ์หมั้น ฤกษ์รดน้ำ ส่งตัวและฤกษ์เรียงหมอนการหาฤกษ์จะดูทั้งวัน เดือน ปีที่สมพงษ์กับคู่แต่งงาน
คนไทยนิยมแต่งงานเดือนคู่ตามปฏิทินจันทรคติ ยกเว้นเดือนสิบสองเพราะถือว่าเป็นฤดูที่สัตว์มีคู่ วันสิบสองค่ำทั้งข้างขึ้นข้างแรมโบราณห้ามแต่งเพราะถือว่าเป็น “วันจม” วันอังคารและวันเสาร์ถือว่าเป็น “วันแรง” วันพุธก็เป็นวันสุนัขนามไม่ดี วันพฤหัสบดีไม่เหมาะอีกเพราะในตำนานฮินดูนั้นลูกสาวพระพฤหัสบดีแต่งงานไปแล้วมีชู้ วันที่เหมาะจะแต่งงานคือวันศุกร์ เพราะมีเสียงพ้องกับ “สุข”
และถ้าได้วันที่เป็นอธิบดีและวันธงชัยก็ยิ่งดี แต่วันที่ดีเลิศนั้นมีไม่กี่วันในหนึ่งปี คู่ที่ไม่อยากรอนานจึงถือเอา “ฤกษ์สะดวก” คือ ปลอดจากฤกษ์ไม่ดีทั้งหลายเป็นพอ

สินสอด – ทองหมั้น
เมื่อสองฝ่ายเห็นชอบกันว่ามีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายชายจะแต่งเฒ่าแก่สู่ขอไปเจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงถึงเรื่องสินสอดทองหมั้นและกำหนดวันแต่งงาน สมัยก่อนผู้ชายเป็นผู้ปลูกเรือนหอบนที่ของฝ่ายหญิงตามธรรมเนียม “แต่งเขยเข้าบ้าน” ก็จะมีการตกลงเรื่องนี้กันด้วย
ขันหมากหมั้น
ขันหมากหมั้น ตามธรรมเนียมไทยประกอบด้วยขันหมากและทองหมั้นซึ่งฝ่ายชายนำไปมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะแต่งงานกัน คนไทยสมัยก่อนชอบกินหมาก แขกไปใครมาก็ยกขันหมากอกมาต้อนรับ ขันหมากจึงมีความสำคัญในประเพณีแต่งงานไทย
ขันหมากหมั้นมักใช้ขันทอง เงิน นาก ถม ใส่หมากทั้งลูก ไม่เฉาะหรือเฉือน 8 ผล และพลู 4 เรียง จะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้แต่นิยมจัดให้เป็นเลขคู่ ก้นขันหมากใส่ถุงบรรจุข้าวเปลือก ถั่วเขียว ข้าวตอกและงาดำอย่างละ 1 ถุง เป็นเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวมีความเจริญงอกงาม บางบ้านอาจจะใส่แป้งข้าวหมากเอาเคล็ดว่าคู่แต่งงานจะทำการอะไรให้เฟื่องฟู พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง “แต่งงาน” ว่าบางบ้านอาจจะใส่ดอกรักเด็ดจากช่อที่เป็นยอดลงไปด้วยเพราะมีชื่อเป็นมงคล
ของหมั้นตามประเพณีเดิมนิยมให้ทองรูปพรรณเพราะมีของมีค่าที่นำติดตัวไปไหน ๆ ได้ จึงเรียกกันติดปากว่า ทองหมั้นคู่กับสินสอด แม้ว่าความนิยมจะเปลี่ยนไปและเดี๋ยวนี้บางคู่ก็หมั้นกันด้วยแหวนเพชรวงเดียว ของหมั้นที่โบราณมักเรียกกันก็มีอาหาร ขนม ผลไม้ และน้ำตาลหมั้นเพื่อแจกจ่ายในหมู่ญาติเป็นประกาศให้รู้ว่าลูกสาวบ้านนี้มีผู้หมั้นหมายแล้ว
พิธีแต่งงาน
แก่นแท้ของพิธีแต่งงานไทย คือ การสู่ขอฝ่ายหญิงจากบิดามารดาและการรดน้ำอวยพรหรือผูกข้อมือแก่คู่บ่าวสาว ส่วนพิธีสงฆ์นั้นถือว่าเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว โดยถ้าไม่ตักบาตรเช้าก็มักนิมนต์พระมาสวดและถวายภัตตาหารเพล แล้วอาราธนาท่านปลุกเสกน้ำพระพุทธมนต์และทำมงคลคู่สำหรับพิธีรดน้ำด้วยพิธีเช้าเริ่มจากการตักบาตรร่วมกัน
สมัยก่อนทั้งสองฝ่ายจะนำข้าวและอาหารคาวหวานมารวมกัน แต่เพื่อความสะดวกฝ่ายหญิงจึงมีมักเป็นผู้เตรียมให้ จากนั้นฝ่ายหญิงเลี้ยงเพลพระ เมื่อใกล้เสร็จพิธี ฝ่ายหญิงจัดสำรับคาวหวานอย่างละสำรับเรียกว่า “ของเลื่อนเตือนขันหมาก” ไปยังบ้านเจ้าบ่าวเพื่อบอกให้รู้ว่าพิธีเช้าเสร็จสิ้น ให้ยกขันหมากมาได้
ขันหมากแต่ง
ประกอบด้วยขันหมากเอกและขันหมากเลวหรือขันหมากโท ขันผ้าไหว้สำหรับพ่อแม่ฝ่ายหญิงคู่หนึ่งและสำรับผ้าขาวสำหรับไหว้ผีปู่ย่าตายาย
ขันหมากเอกประกอบด้วยขันหมากบรรจุลูกหมาก พลูเรียงเหมือนขันหมากหมั้น โบราณให้รองก้นขันด้วยใบรักและใบสวาด แต่อย่างหลังนี้คงจะหาได้ยาก
ขันสินสอด บรรจุเงินสินสอดตามที่ตกลงกัน
ขันทุนสินหรือขันเงินทุนซึ่งทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวต่างก็เตรียมไว้จำนวนเท่ากันเพื่อให้คู่บ่าวสาวใช้เป็นเงินทุนตั้งตัว ขันทุนสินนี้มักใส่เงินปลีกลงมาด้วยเอาเคล็ดว่าให้เงินจำนวนนี้งอกงามต่อไปและใช้เสี่ยงทายในพิธีสู่ขอด้วย
ทั้งขันสินสอดและขันทุนสินให้รองก้นด้วยข้าวเปลือก ถั่ว งา และใบไม้ดอกที่มีชื่อเป็นมงคลต่าง ๆ เช่น ใบเงิน ใบทอง ใบแก้ว ใบรัก ใบสวาด ดอกพุทธชาด ดอกบานไม่รู้โรย
ในหมู่ขันหมากเอกยังมีเตียบ ซึ่งเป็นพาชนะบรรจุอาหารทรงคล้ายตะลุ่ม ปากผาย มีฝาครอบ จัดเป็นคู่ ๆ บรรจุอาหารคาวหวาน ที่นิยมกันก็มี ไก่ หมู่ ห่อหมก ขนมจีน สองอย่างแรกเป็นของที่ใช้เซ่นไหว้ตามธรรมเนียมสองอย่างหลังมีความหมายดี เนื่องจาก “หมก” หมายถึง “รวม” และขนมจีนนั้นมีเส้นยาวเป็นเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวรักกันนาน ๆ ของหวานที่นิยม มีฝอยทอง ขนมชั้นขนมกล้วย ขนมกง มะพร้าวอ่อนทั้งใบ กล้วย ส้มทั้งผล
สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือขันไหว้ผีใส่มะพร้าวอ่อน อ้อย และเหล้าทั้งขวด นอกจากนี้ยังมักจัดพานถัวงาสำหรับใช้ในพิธีสู่ขอขันหมากเลวหรือขันหมากโท (เลวหมายถึงสามัญ) จะจัดกี่คู่ก็ได้ บรรจุขนมต่าง ๆ เช่น ทองเอก ฝอยทอง ขนมจันอับของจีนหรือขนมเค้กแบบฝรั่ง แล้วแต่ความนิยม และผลไม้พื้นบ้าน เช่น กล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน
สมัยก่อนเจ้าบ่าวจะส่งขันหมากเลวมาล่วงหน้าก่อนวันแต่ง 1 วัน (วันสุกดิบ) เพื่อที่ฝ่ายเจ้าสาวจะได้นำอาหารนั้นมาเลี้ยงแขกในวันแต่งงานด้วย
พิธีรดน้ำ
เดิมทีเป็นพิธีซัดน้ำ โดยนิมนต์พระสงฆ์เป็นผู้ประพรม หรือ “ซัด” น้ำมนต์บนตัวแก่คู่บ่าวสาว ซึ่งมักว่ากันถึงเปียกปอนเลยทีเดียว ต่อมาจึงแปลงเป็นการให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายและแขกเหรื่อร่วมรดน้ำอวยพรแก่คู่บ่าวสาวแทน เครื่องใช้ในพิธีซึ่งฝ่ายเจ้าสาวต้องเตรียมได้แก่
- โต๊ะหมู่บูชา ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถ้าไม่สะดวกจะหันไปทิศอื่นก็ได้ ยกเว้นทิศตะวันตก ซึ่งถือว่าเป็นทิศของคนตาย
- ธูป เทียน สำหรับจุดนมัสการพระพุทธ ใช้ธูป 3 ดอก เทียน 1 คู่ ยังไม่ต้องจุด
- ตั่งรดน้ำ ปกติใช้ตั่งสำหรับคู่บ่าวสาวนั่งห้อยเท่าหรือพับเพียบและที่วางมือรับน้ำสังข์ ตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาห้ามไม่ให้วางหันไปทางทิศตะวันตกเช่นกัน หน้าตั่งวางขันน้ำหรือพานสำหรับรองรับน้ำสังข์
- โต๊ะวางหม้อน้ำสังข์ สังข์ พานมงคลแฝด โถแป้งกระแจะสำหรับเจิมหน้าคู่บ่าวสาว มงคลแฝดนี้ปกติเจ้าภาพจะเตรียมสายสิญจน์แล้วนิมนต์ให้ประธานสงฆ์เป็นผู้ทำมงคล แต่พระบางรูปจำไม่รับนิมนต์ เจ้าภาพต้องตระเตรียมเอง ส่วนน้ำสังข์ จะใช้ “น้ำพระพุทธมนต์” ที่พระสงฆ์ปลุกเสกให้
- มาลัยบ่าวสาว 1 คู่
จากนั้นจึงเชิญแขกร่วมรดน้ำตามลำดับอาวุโส เมื่อเสร็จพิธี ประธานจะถอดมงคลพร้อมกล่าวอวยพรแก่คู่บ่าวสาว จากนั้นทั้งคู่จึงลุกจากที่พร้อม ๆ กัน แต่บางคนอาจถือเคล็ดว่าใครปลุกก่อนจะมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
พิธีปูที่นอน
นิยมเชิญคู่สามีภรรยาที่รักกัน มีลูกหลานสืบสกุลและเป็นคนดีมีศีลธรรมมาเป็นประธานเมื่อได้ฤกษ์ประธานจะไหว้พระสวดมนต์แล้วขึ้นนอนคู่กันบนที่นอนพอเป็นพิธี โดยอาจจะมีคำกล่าวเอาเคล็ดต่างๆ ร่วมด้วย เป็นต้นว่า “ที่นอนนี้ใครนอนเห็นจะเป็นสุขสบาย เจริญรุ่งเรือง ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง” ฯลฯ
เครื่องใช้ในพิธีปูที่นอนมีฟักเขียว 1 ผล หินบดยา 1 ลูก แมวสีขาว หม้อใหม่ใส่น้ำฝน และพานใส่ถั่วงาที่เหลือจากเคล้าทุนสิน ทั้งหมดนี้วางไว้ข้างที่นอนเอาเคล็ดว่าให้คู่บ่าวสาวในเย็นเหมือนฟัก หนักแน่นเหมือนหิน อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเหมือนแมว ให้อดกลั้น ถนอมน้ำใจกันอย่างโบราณว่า “น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก” และทำการใดให้งอกงามเหมือนถั่งงา
สมัยนี้ถ้าหาแมวไม่ได้หรือเกรงว่ามันจะไม่ยอมร่วมมืออาจจะใช้ตุ๊กตาแมวแทนก็ได้ และบางบ้านอาจจะนำกลีบดอกรัก กุหลาบ บานไม่รู้โรยมาโรยบนที่นอนอด้วยเพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวรักกันมาก ๆ
พิธีส่งตัว
พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะพาเจ้าสาวมาส่งทีห้องหอ ให้โอวาทและอวยพรแก่ทั้งคู่ บางบ้านอาจจะให้ทำพิธีเกี่ยวก้อยตามแบบโบราณ โดยให้เจ้าสาวกราบเจ้าบ่าวแล้วเข้าไปอยู่หลังม่านในห้องหอ เจ้าบ่าวไหว้เฒ่าแก่ในพิธีแล้วจึงยื่นมือเข้าไปเกี่ยวก้อยกับเจ้าสาวในม่าน จากนั้นเฒ่าแก่จะให้เจ้าสาวกราบหมอนเจ้าบ่าวแล้วนอนลงทางฟากของตนก่อนเป็นเคล็ดให้เจ้าบ่าวเกรงใจเจ้าสาว เฒ่าแก่อาจจะสั่งสอนทั้งสองฝ่ายถึงหน้าที่สามีภรรยาก่อนจะลากลับ
วันนี้ เตรียมตัวก่อนแต่งงานด้วยคอร์สเจ้าสาว รับแพคเกจสปาราคาพิเศษ ก่อน 31 มี.ค. 53 นี้
ติดต่อ คุณอาภาภัทร มือถือ 08-4611-8815 อีเมล์ sales@baansingkham.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)